ปรัชญา
“มุ่งผลสัมฤทธิ์ จิตบริการ ทำงานเป็นระบบ ”
วิสัยทัศน์
คนจังหวัดสุราษฏร์ธานีได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพสามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบ
๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการเพื่อมุ่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม
เป้าประสงค์
ประชาชนผู้รับบริการ ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีความรู้ความสามารถรอบด้านเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ มีศักยภาพในการผลิตทางเศรษฐกิจ การสร้างสังคมคุณภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๑. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่ม
๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น อาทิ หมู่บ้านตามรอยพระยุคลบาท หมู่บ้านแห่งการอ่าน บ้านหนังสือชุมชนแหล่งการเรียนรู้ชุมชน
๔. ประชาชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมี กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่นในชุมชนเป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้
๕. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์
๖. ชุมชนมีการจัดการความรู้ของชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
๗. ชุมชนและทุกภาคส่วน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๘. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาและนำสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้
๙. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
๑๐. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
|